โรคสองบุคลิก
คนที่มีอาการไบโพล่าร์นั้น จะอารมณ์ดีในลักษณะที่ผิดปกติ เรียกว่า mania หมายถึงอารมณ์ดีมากเกินกว่าปกติที่ควรจะเป็น และมักจะไม่มีเหตุผลหรือไม่สมเหตุสมผล ช่วงที่มีอารมณ์ดีจะช่างพูดช่างคุย คุยได้ไม่หยุด และไม่ชอบให้ใครมาขัดจะเกิดอารมณ์หงุดหงิด บางคนอารมณ์ดีจนกระทั่งตัดสินใจในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
โรคสองบุคลิก หรือ โรคไบโพล่าร์ (Bipolar) เป็นโรคทางอารมณ์ ทำให้ผู้ป่วยเป็นคนสองบุคลิก
เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย เราลองไปทำความรู้จักกับ โรคไบโพล่าร์ กันดีกว่า
สำหรับโรคไบโพล่าร์
(Bipolar) นี้ เป็นโรคที่จัดอยู่ในกลุ่มโรคทางด้านเรื่องอารมณ์ กลุ่มเดียวกับโรคซึมเศร้า
แต่โรคซึมเศร้านั้นคือ โรคอารมณ์ที่ชัดเจน ที่มีอารมณ์เบื่อเศร้า แต่โรคไบโพล่าร์ จะมีลักษณะที่มีอารมณ์ช่วงหนึ่งจะมีลักษณะครื้นเครง
รื่นเริง สนุกสนานสลับกับอารมณ์ซึมเศร้าอีกช่วงหนึ่ง
ลักษณะสำคัญของโรคนี้คือ อาการผิดปกติของอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอาจเป็นแบบซึมเศร้า
(depression) หรือตรงข้ามกับซึมเศร้าคืออารมณ์ดีผิดปกติ (mania)
ก็ได้
สาเหตุของโรคไบโพล่าร์
สาเหตุนั้นเชื่อว่าเกิด จากการทำงานที่ผิดปกติของสมองโดยมีสารสื่อนำประสาทที่ไม่สมดุล คือมีสารซีโรโทนิน (serotonin) น้อยเกินไป และสารนอร์เอปิเนฟริน (epinephrine) มากเกินไป นอกจากนี้ ยังเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรมค่อนข้างมาก หากแพทย์ลองซักผู้ป่วยดี ๆ จะพบว่าผู้ป่วยจะมีญาติบางคนป่วยเป็นโรคนี้ด้วย ทำให้อาจบอกได้ว่า ลูกหลานของผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์มีโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนทั่ว ไป
สาเหตุนั้นเชื่อว่าเกิด จากการทำงานที่ผิดปกติของสมองโดยมีสารสื่อนำประสาทที่ไม่สมดุล คือมีสารซีโรโทนิน (serotonin) น้อยเกินไป และสารนอร์เอปิเนฟริน (epinephrine) มากเกินไป นอกจากนี้ ยังเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรมค่อนข้างมาก หากแพทย์ลองซักผู้ป่วยดี ๆ จะพบว่าผู้ป่วยจะมีญาติบางคนป่วยเป็นโรคนี้ด้วย ทำให้อาจบอกได้ว่า ลูกหลานของผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์มีโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนทั่ว ไป
อาการของโรค
คนที่มีอาการไบโพล่าร์นั้น จะอารมณ์ดีในลักษณะที่ผิดปกติ เรียกว่า mania หมายถึงอารมณ์ดีมากเกินกว่าปกติที่ควรจะเป็น และมักจะไม่มีเหตุผลหรือไม่สมเหตุสมผล ช่วงที่มีอารมณ์ดีจะช่างพูดช่างคุย คุยได้ไม่หยุด และไม่ชอบให้ใครมาขัดจะเกิดอารมณ์หงุดหงิด บางคนอารมณ์ดีจนกระทั่งตัดสินใจในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
แต่ถ้าอารมณ์ร้ายขึ้นมาเมื่อไร
ก็ถึงขั้นใช้อารมณ์ก้าวร้าวได้ เรียกว่าเปลี่ยนไปเป็นคนละคน ซึ่ง อาจทำให้มีปัญหากระทบกระเทือนต่อหน้าที่การงาน
และการใช้ชีวิตประจำวันได้เลย ผู้ป่วยบางคนจะมีปัญหาไม่ยอมหลับ ยอมนอน ตอนกลางคืน
อยากเที่ยวกลางคืน ใช้จ่ายเงินมาก มีอารมณ์ทางเพศมากขึ้น สำส่อนทางเพศ
ถ้าอาการนี้เริ่มเป็นมาตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น
อาจทำให้ผู้ป่วยไม่มีสมาธิในการเรียน ผลการเรียนตกลง มีปัญหาทางพฤติกรรม ทะเลาะกับเพื่อนฝูง
ครูอาจารย์ รู้สึกอยากไปเที่ยวกลางคืน ออกไปเตร็ดเตร่ ซึ่งถ้าพ่อแม่ไม่ได้ดูแลเอาใจใส่ลูกอย่างใกล้ชิดก็จะไม่รู้สึกถึงความผิด
ปกติเลย
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุด คนรอบข้างต้องเข้าใจในผู้ป่วยที่เป็นภาวะเช่นนี้ด้วย
ตัวผู้ป่วยเองก็ต้องดำเนินชีวิตในทางสายกลาง ควบคุมเวลานอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อยก็วันละ
6-8 ชั่วโมง พยายามหาวิธีแก้ปัญหาและลดความเครียด และอย่าใช้ยากระตุ้นหรือสารมึนเมา
เช่น เหล้า หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง
ถ้ามีผู้ป่วยในครอบครัว คนรอบตัวต้องเข้าใจและช่วยกันป้องกันผู้ป่วยในช่วงก่อนโรคกำเริบรุนแรง
เพราะว่ามีโอกาสกลับไปเป็นซ้ำอีก ช่วงอายุที่มีโอกาสเป็นโรคอารมณ์แปรปรวนมากที่สุด คือ 15-25 ปี กลุ่มนี้จะเริ่มต้นด้วยอาการขยันผิดปกติ หรือที่เรียกว่า
"ไฮเปอร์แอคทีฟ" ต่อมา บางช่วงของการเจ็บป่วยก็จะเปลี่ยนเป็นซึมเศร้า
เป็นมาก ๆ อาจถึงขั้นฆ่าตัวตาย
สรุปแล้ว โรคนี้รักษาได้
หากคนรอบตัวมีอาการผิดปกติทางอารมณ์อย่างที่บอกมา ควรพาไปพบแพทย์เพื่อให้วินิจฉัย เพื่อจะได้รีบรักษาให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติเหมือนคนทั่วไป
จะช่วยลดความสูญเสียทางด้านหน้าที่การงาน และเงินทอง
เวลาผู้ป่วยมีอาการ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความรุนแรง เป็นปัญหาสังคมได้
ขอขอบคุณ health.kapook.com/view533.html